archa98 - พระประจำวันเกิด



วันจันทร์ (พระจันทร์)
พระปางห้ามญาติ หรือห้ามสมุทร
ปางห้ามญาติ เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืน ยกพระหัตถ์ขวาหันออก ยกข้างเดียว
ปางห้ามสมุทร ยกสองข้าง
พระที่แทนคือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ จังหวัดนครปฐม
ความเป็นมาคือการห้ามญาติระหว่างญาติฝั่งบิดาและมารดา ในการทะเลาะกันแย่งแม่น้ำโรหิณี ส่วนลักษณะของปางห้ามสมุทรคือจะยกมือทั้งสองข้างขึ้นมาบริเวณหน้าอก ความเป็นมาคือ ทรงแสดงพุทธปาฏิหารย์เพื่อทำลายทิฐิมานะของเหล่าชฎิลทั้งหลาย ด้วยการห้ามฝน ห้ามลม ห้ามพายุ และห้ามน้ำไม่ให้ท่วมบริเวณที่ประทับ เพื่อทำให้พวกชฎิลเห็นเป็นที่อัศจรรย์และยอมบวชเป็นพุทธสาวก

วันอังคาร (พระอังคาร)
พระปางไสยาสน์ หรือพระนอน
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนอน พระหัตถ์ขวาหนุนพระเกศา
พระที่แทนคือ พระนอนวัดโพธิ์ หรือพระนอนวัดสะตือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระพุทธองค์รับสั่งให้พระจุนทะเถระปูอาสนะลงระหว่างต้นรังคู่หนึ่งแล้วทรงบรรทมแบบสีหไสยาสน์ หรือการนอนแบบราชสีห์ และตั้งใจจะไม่ลุกขึ้นมาอีก การสร้างปางนี้จึงเป็นการรำลึกถึงการเสด็จดับขันธปรินิพพาน

วันพุธ (พระพุธ) พระปางอุ้มบาตร
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืนทรงอุ้มบาตร
พระที่แทนคือ พระวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม
เมื่อครั้งที่ได้แสดงปาฏิหาร์เหาะขึ้นไปในอากาศต่อหน้าญาติ ๆ ทำให้ลดทิฐิลง พร้อมทั้งมีการเทศนา แต่ญาติไม่มีใครได้ถวายอาหารให้เพราะเข้าใจว่าพระพุทธเจ้าและพระสาวกจะต้องฉันอาหารที่เตรียมไว้ในวัง แต่พระพุทธองค์ได้พาเหล่าพระสาวกเสด็จจาริกไปตามถนนหลวงเพื่อโปรดเวไนยสัตว์ ชาวบ้านจึงได้เห็นพระจริยาวัตรขณะอุ้มบาตรโปรดสัตว์ จึงสรรเสริญ

วันพุธกลางคืน (พระปางป่าเลไลย์)
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งไม่รับของถวายจากวานร และรับ (หงายมือ) จากคชสาร

archa98

วันพฤหัส (พระพฤหัส) พระปางสมาธิ
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งประสานมือไว้บนตักขวาทับซ้าย
พระที่แทนคือ หลวงพ่อโสธรฯ หรือพระแก้วมรกต
ปางนี้มาจากตอนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือคือวันวิสาขบูชา

วันศุกร์ (พระศุกร์) พระปางรำพึง
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืน พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายประสานไว้หว่างพระอุระ
ปางที่มาจากการที่หลังพระพุทธเจ้าตรัสรู้ และคิดได้ว่าธรรมที่ตรัสรู้นั้นเป็นเรื่องลึกซึ้ง ละเอียดอ่อนเกินกว่ามนุษย์จะเข้าใจ จึงคิดจะไม่สั่งสอนธรรมแก่มนุษย์แล้ว แต่ท้าวสหัมบดีพรหมก็ขอให้พระองค์ทรงสั่งสอนชาวโลกอีกครั้งโดยบอกว่ายังมีมนุษย์ที่กิเลสเบาบางที่ยังจะฟังธรรมอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นด้วยจึงหันกลับมาสั่งสอนธรรมต่อไปจนเสด็จปรินิพพาน

วันเสาร์ (พระเสาร์) พระปางนาคปรก
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับนั่งขัดสมาธิ ประสานมือไว้บนตัก มีเศียรพญานาค 7 เศียร อยู่เบื้องหลังพระเกศา
เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้วได้นั่งบำเพ็ญสมาธิอยู่นั้นฝนตกลงมาไม่หยุดได้มีพญานาคราชตนหนึ่งชื่อว่า “มุจลินท์นาคราช” ขึ้นมาแสดงอิทธิฤทธิ์ด้วยการขนดร่างเป็นวงกลม 7 รอบแล้วแผ่พังพานปกคลุมพระพุทธเจ้าไว้ และเมื่อฝนหยุดตกจึงได้แปลงร่างเป็นมาณพเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธองค์

วันอาทิตย์ (พระอาทิตย์) พระปางถวายเนตร
เป็นรูปพระพุทธเจ้าประทับยืน พระหัตถ์ซ้ายกุมพระหัตถ์ขวา
มีที่มาจากเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และได้ประทับเสวยวิมุตติสุข หรือ “สุขที่เกิดจากความสงบ” ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา 7 วัน และไปยืนกลางแจ้งทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์และมองอยู่เป็นเวลา 7 วันโดยที่ตาไม่กระพริบเลย ซึ่งทำให้สถานที่นี้ถูกเลยว่า “อนิมิสเจดีย์”




เว็บแทงหวย |สมัครเว็บหวย |เว็บหวยลาว |หวยหุ้นเน้นบน |หวยออนไลน์ lotto |เว็บหวยที่ดีที่สุด |หวย 98 |เว็บหวย 98 |หวยม้าสีหมอก |ยี่กี 4d |บทความ